บางท่านอาจจะยังสงสัยหรือต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมความแตกต่างระหว่างลูกหมุนระบายอากาศกับพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์?

เบื้องต้น ควรเข้าใจหลักการการทำงานของลูกหมุนระบายอากาศและพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์มีการทำงานได้อย่างไร?

หลักการทำงานลูกหมุนระบายอากาศ

ลูกหมุนระบายอากาศเป็นอุปกรณ์แบบ Passive ventilation หรือเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้กระแสลมจากภายนอกช่วยให้ทำงาน เพื่อระบายความร้อนหรืออากาศภายในอาคารออกสู่ภายนอกอาคาร

ลูกหมุนระบายอากาศ
ลูกหมุนระบายอากาศ

สภาพอากาศความเร็วลมประเทศไทย

อัตราความเร็วลม ณ สนามบินสุวรรณภูมิ

ความเร็วลมรายวันสุวรรณภูมิ

อัตราความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 ปี

ความเร็วลมรายปีสนามบินสุวรรณภูมิ

อัตราระบายลมลูกหมุนระบายอากาศ

จากการเก็บข้อมูลอัตราความเร็วลม(wind speed) ในประเทศไทย มีอัตราความเร็วลมเฉลี่ยที่ 2-4 m/s
ดังนั้น ทำให้ลูกหมุนระบายอากาศขนาด 12” ที่ความเร็วลม 4 m/s [16 Km/hr] สามารถระบายอากาศได้ 5,000 Lite/min หรือ 180 CFM

ที่มาข้อมูล:(Characterising Roof Ventilators)The University of Sydney, Sydney, Australia

ที่มาข้อมูล: Windfinder

หลักการทำงานพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์

พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์เป็นอุปกรณ์แบบ Active Ventilation หรือเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ต้องใช้ลมจากภายนอกช่วยให้ทำงานพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อระบายความร้อนหรืออากาศภายในออกสู่ภายนอกอาคาร

พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ติดหลังคา:ปรับแผ่นโซล่าเซลล์,แบบกลม
ข้อดีพัดลมระบายอากาศติดหลังคา

สภาพความเข้มแสงแดดประเทศไทย

สภาพความเข้มแสงแดดประเทศไทย

ที่มาข้อมูล: Hugh Ahlenius, UNEP/GRID-Arendal Maps and Graphics Library และ thaisolarenergy

ด้วยความเข้มแสงประมาณ 5.0-6.5 kWh/m2 ในประเทศไทย ซึ่งโดยปรกติพลังงานแสงอาทิตย์จะทำให้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ขนาด 12”12w เริ่มทำงานตั้งแต่ 8.30 น จนกระทั่งในช่วงเวลา 10.00 – 15.30 น พัดลมระบายอากาศสามารถทำงานเต็มที่(อัตราระบายลม 1,150 CFM) และจะหยุดทำงานประมาณ 16.30 น

พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ประสิทธิภาพดีกว่าลูกหมุนระบายอากาศ

ด้วยหลักการทำงานที่ต่างกันและสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยจึงส่งผลให้ประสิทธิภาพพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ทำงานได้ดีกว่าลูกหมุนระบายอากาศ 6-12 เท่า หรือ สามารถเปรียบเทียบได้ว่า พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ 1 ชุด สามารถทดแทนลูกหมุนระบายอากาศได้ถึง 6-12 ชุด

เปรียบเทียบพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์กับลูกหมุนระบายอากาศ

พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ราคาถูกกว่าลูกหมุนระบายอากาศ

เมื่อเทียบในด้านราคา ถ้าเทียบราคาต่อชุดราคาพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์จะสูงกว่าลูกหมุนระบายอากาศ แต่ถ้าเปรียบเทียบในด้านประสิทธิภาพ พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ 1 ชุด สามารถทดแทนลูกหมุนระบายอากาศได้ถึง 6 – 12 ชุด ส่งผลให้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ถูกกว่า

เปรียบเทียบพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์กับลูกหมุนระบายอากาศ

นอกจากนี้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์สามารถป้องกันน้ำฝนรั่วจากหลังคาได้ แต่ลูกหมุนระบายอากาศยังมีโอกาสที่น้ำฝนรั่วจากหลังคาได้

พร้อมทั้งพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ ยังมีฟังก์ชั่นอื่นที่ช่วยอำนวยสะดวกแก่ผู้ใช้งานอีกมากมาย

– อุปกรณ์ Hybrid AC/DC: สามารถช่วยให้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ทำงานได้ตอนกลางคืน โดยใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง

– แบตเตอรี่: สามารถช่วยให้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ทำงานได้ตอนกลางคืน ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

– Temperature controller: อุปกรณ์ควบคุมพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ด้วยอุณหภูมิ

– Smart Ventilator: สามารถควบคุมการเปิด/ปิด ระบบระบายอากาศ ผ่าน smart phone

– Ventilator sensor: อุปกรณ์ตรวจสอบพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์

สรุป

พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพดีกว่า ราคาถูกกว่า และพร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานมากกว่าลูกหมุนระบายอากาศ

10 Responses to “พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ดีกว่าลูกหมุนระบายอากาศ”

  1. ณัฐกิตติ์อนันต์ศิระบวร

    อยากทราบราคา อยุ่อำเภอจอมบึง ราชบุรี

    ตอบกลับ
  2. สกรรจ์

    รบกวนสอบถามครับ
    1. ด้วยความที่ผมกังวลกับการรั่วของหลังคามาก เลยไม่อยากเจาะหลังคา (เมทัลชีท) อยากทราบว่าติดตั้งแบบใต้ฝ้าชายคาภายนอกได้ไหม
    2. ราคาพร้อมติดตั้ง จำนวน 2 ชุด เท่าไรครับ – สายไหม กรุงเทพ

    ตอบกลับ
  3. กอล์ฟ

    รบกวนส่งใบเสนอราคาให้หน่อยครับ อยู่แถวมีนบุรี

    ตอบกลับ
  4. ครูแอ๋ว

    สนใจมาติดหลังคาเมทัลชีทค่ะ ตอนนี้ร้อนมาก

    ตอบกลับ
    • DWA COOL

      ราคาพร้อมติดตั้งประมาณ 15,000 – 20,000 บาท/ชุด พื้นที่ กทมฯ ค่ะ

      ตอบกลับ
    • DWA COOL

      ราคาพร้อมติดตั้งประมาณ 15,000 – 20,000 บาท/ชุด พื้นที่ กทมฯ ค่ะ
      ถ้าต่างจังหวัดรบกวนลูกค้า ส่ง Location ค่ะ

      ตอบกลับ

Leave a Reply to DWA COOL

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

XHTML: You can use these tags: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>