บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องใช้ พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ + อุปกรณ์ Hybrid AC/DC + อุปกรณ์ควบคุมพัดลมระบายอากาศด้วยอุณหภูมิ ?
การทำงานของพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ติดหลังคา / ผนัง / ฝ้าเพดาน
ก่อนอื่น เราขอเริ่มอธิบายจากการทำงานของแต่ละระบบก่อน
พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ : ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์อย่างเดียว ดังนั้นพัดลมระบายอากาศจะทำงานก็ต่อเมื่อมีแสงแดด
พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ + อุปกรณ์ Hybrid AC/DC + อุปกรณ์ควบคุมพัดลมระบายอากาศด้วยอุณหภูมิ : ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ผสมผสานกับไฟฟ้าจากสายส่ง
มีแสงแดด: อุปกรณ์ Hybrid AC/DC จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ ทำให้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ทำงาน
มีแสงแดดน้อย: อุปกรณ์ Hybrid AC/DC จะผสมผสานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์และไฟฟ้าจากสายส่ง ทำให้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ทำงาน
ไม่มีแสงแดด: อุปกรณ์ Hybrid AC/DC จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง ทำให้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ทำงาน
โดยพัดลมระบายอากาศจะหยุดทำงานก็ต่อเมื่อ อุณหภูมิภายในห้องใต้หลังคาต่ำกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้
ข้อดีของพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ + อุปกรณ์ Hybrid AC/DC + อุปกรณ์ควบคุมพัดลมระบายอากาศด้วยอุณหภูมิ
เนื่องจาก พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ + อุปกรณ์ Hybrid AC/DC + อุปกรณ์ควบคุมพัดลมระบายอากาศด้วยอุณหภูมิ สามารถทำให้อุณหภูมิภายในบ้านลดได้มากกว่า 1-2 องศาเซลเซียส ถ้าเปรียบเทียบกับพัดลมระบายอากาศที่ใช้แผงโซล่าเซลล์อย่างเดียว
พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ + อุปกรณ์ Hybrid AC/DC + อุปกรณ์ควบคุมพัดลมระบายอากาศด้วยอุณหภูมิทำงานได้ดีกว่า เนื่องจากมีอัตราเฉลี่ย Air Flow Rate ที่สูงกว่า จึงทำให้มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าพัดลมระบายอากาศที่ใช้แผงโซล่าเซลล์อย่างเดียว
พลังงานไฟฟ้าจากสายส่งที่ถูกใช้ในพัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ 1 วัน :
ในกรณีตัวอย่าง ถ้ามีการใช้พัดลมระบายอากาศโซล่าเซลล์ + อุปกรณ์ Hybrid AC/DC + อุปกรณ์ควบคุมพัดลมระบายอากาศด้วยอุณหภูมิ (9 ชั่วโมง/วัน)
1 วัน มอเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้า 25 w x 9 ชั่วโมง = 225 w-h/d
1 วัน แผงโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้า 100% (4 ชั่วโมง) แผงโซล่าเซลล์ 30w = 30w x 4 ชั่วโมง = 120 w-h/d
ดังนั้น 1 วัน ใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง 225 – 120 = 105 w-h/d
ดังนั้น 1 วัน ใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง จำนวน = 105/1000 = 0.105 unit/d
โดย ค่าไฟฟ้าจากสายส่ง 1 unit(1,000 w-h) = 4 บาท/unit
ค่าไฟฟ้าต่อเดือน = [(0.105 unit/d) x (4 บาท/unit) x (30 d)] = 12.6 บาท/เดือน
ซึ่งถือว่าเป็นการใช้พลังงานทดแทนที่คุ้มค่า จ่ายเงินเพิ่มเดือนละ 12.6 บาท/เดือน สามารถช่วยให้อุณหภูมิลดได้เพิ่มอีก 2 องศาเซลเซียส ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกประมาณ 10 – 15%
- By: DWA COOL
- 0 comment
Leave a Reply