บางท่านที่กำลังเลือกซื้อแอร์ อาจมีคำถามในใจว่า

“ แอร์ยี่ห้อไหนดี ? / แอร์แบบไหนประหยัดค่าไฟฟ้า ? ”

ซึ่งบทความนี้ เราจะอธิบายแนวทางการเลือกซื้อแอร์ที่มีคุณภาพและช่วยลดค่าไฟฟ้าได้

กำหนดขนาดแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง

ขนาดการทำความเย็นของแอร์จะถูกกำหนดโดยขนาดของห้อง ซึ่งโดยปรกติผู้ซื้อส่วนมากจะเข้าใจผิดว่าควรซื้อแอร์ที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อที่จะให้ทำความเย็นดีกว่าและประหยัดไฟกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ซื้อควรเลือกซื้อแอร์ที่มีขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง

เนื่องจากถ้าซื้อแอร์ขนาดที่ใหญ่เกินไป มันจะทำให้อากาศภายในห้องได้ความเย็นที่เร็วแต่แอร์ก็จะตัดการทำงานไวขึ้นกว่าเดิม ซึ่งส่งผลให้ใช้ปริมาณไฟฟ้ามากขึ้นและส่งผลเรื่องความชื้นภายในห้องที่ผิดปรกติ ส่งผลให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในห้องรู้สึกเย็นแบบแปลกๆด้วย ซึ่งจะแตกต่างกับเลือกการใช้แอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับห้อง การทำความเย็นของแอร์จะต้องใช้เวลาการทำความเย็นชั่วครู่จากนั้นค่อยตัดการทำงาน และส่งผลให้ความชื้นภายในห้องปรกติ ผู้ที่อยู่อาศัยก็จะรู้สึกสบายตัวมากขึ้น

เลือกขนาดแอร์ตามขนาดพื้นที่ห้อง

การตัดสินใจเลือกซื้อขนาดแอร์โดยอาศัยการคำนวนพื้นที่

1) คำนวนหาพื้นที่ในห้อง

2) ใช้ตารางด้านล่าง เพื่อใช้เปรียบเทียบขนาดห้องกับขนาดของแอร์ที่เหมาะสม

3) คำนึงถึงปัจจัยอื่นร่วมด้วย

– ตารางที่ใช้เปรียบเทียบ เหมาะสมกับห้องที่มีเพดานสูงประมาณ 2.4 เมตร ถ้าเพดานสูงกว่าควรเพิ่มขนาดทำความเย็นของแอร์เพิ่ม

– ถ้าห้องถูกบังทึบ ควรลดขนาดของแอร์ลง 10%

– ถ้าห้องโดนแสงแดดจ้า ควรเพิ่มขนาดของแอร์ 10%

– ถ้าห้องมีผู้อาศัยมากกว่า 2 คน ตลอดเวลา ควรคำนวนเพิ่มขนาดทำความเย็น 600 BTU/คน

– ถ้าติดตั้งแอร์ในห้องครัว ควรเพิ่มขนาดทำความเย็น 4,000 BTU

ขนาดห้อง (ตร.ม.) ขนาดแอร์ (BTU/hr)
12 – 15 ตร.ม. 9,000
16 – 20 ตร.ม. 12,000
24 – 30 ตร.ม. 18,000
28 – 35 ตร.ม. 21,000
32 – 40 ตร.ม. 24,000
35 – 44 ตร.ม. 25,000
40 – 50 ตร.ม. 30,000
48 – 60 ตร.ม. 35,000
64 – 80 ตร.ม. 48,000
80 – 100 ตร.ม. 80,000

เลือกชนิดของแอร์ที่ต้องการ

เทคโนโลยีของแอร์ถูกพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นในแต่ละปี เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกสบายและประหยัดค่าไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งการเลือกซื้อแอร์จะพิจารณาจากค่าประสิทธิภาพของแอร์ด้วย นั่นคือค่า EER หรือ SEER โดยจะติดอยู่ที่แอร์ทุกเครื่อง ผู้ซื้อควรเลือกค่า EER หรือ SEER สูง เนื่องจากค่ายิ่งสูง แอร์ยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

Our Recommend

เครื่องปรับอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ ACDC Hybrid Solar

เป็นแอร์โซล่าเซลล์ที่ใช้พลังงานแสงแดดและพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ระบบแอร์นี้สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 90% และในกรณีถ้าไม่มีแสงแดดจะประหยัดไฟฟ้ามาก โดยพิจารณจากค่า SEER ที่มีค่าสูงถึง 36

เครื่องปรับอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Collector

เครื่องปรับอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Collector

เป็นแอร์ที่ผสมผสานการใช้พลังงานแสงแดดและพลังงานไฟฟ้าช่วยทำให้แอร์ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ระบบแอร์นี้ไม่ได้ใช้ระบบโซล่าเซลล์มาเกี่ยวข้อง แต่ใช้ระบบการแลกเปลี่ยนพลังงานความร้อน (Heat Exchanger ) ในอุปกรณ์ Solar Collector ช่วยให้ภายในระบบแอร์ใช้ไฟฟ้าน้อยลงได้ถึง 34.5%

วางแผนก่อนการติดตั้งแอร์

วางแผนเล็กน้อยก่อนการติดตั้งแอร์ จะสามารถช่วยให้ลดค่าไฟฟ้าได้

การติดตั้งชุดแฟนคอล์ย( indoor unit ) ควรติดตั้งให้ได้ระดับ ไม่จำเป็นต้องเอียงตัวเครื่องมาก เพราะว่าท่อระบายน้ำทิ้งสามารถปรับให้เอียง เพื่อระบายน้ำทิ้งได้ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกติดตั้งแอร์ภายใต้ร่มเงา เพราะว่าการติดตั้งแอร์ที่โดนแสงแดดจ้าจะทำให้ประสิทธิภาพของแอร์ลดลงได้ถึง 10% ดังนั้นบางท่านอาจจะเจอปัญหาในการติดตั้งที่มีแสงแดดจ้าโดนตัวเครื่อง ซึ่งการแก้ไขคือ อาจจะปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงาให้กับแอร์ได้ แต่ข้อควรระวังอย่าให้ไปบล็อกกระแสลมระบายของตัวแอร์

ถ้าติดตั้งแอร์ในบ้านชั้น 2 หรือเป็นบ้านชั้นเดียว อุณหภูมิภายในห้องจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงในตอนกลางวัน เนื่องจากพลังงานความร้อนจากหลังคาจะแผ่เข้ามาในห้อง ดังนั้นควรติดตั้ง พัดลมระบายอากาศที่หลังคาหรือพัดลมระบายอากาศที่ผนัง เพื่อให้ลดความร้อนภายในห้องลดลง

ไม่ควรติดหลอดไฟ โทรทัศน์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความร้อนใกล้กับตัวแอร์มาก โดยเฉพาะติดตั้งใกล้กับ Thermostat ของแอร์ เพราะว่า Thermostat คือเซนเซอร์ที่คอยตรวจจับอุณหภูมิภายในห้อง ดังนั้น ถ้าในบริเวณข้างๆแอร์มีความร้อนจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ก็จะส่งผลให้แอร์ทำงานเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็นนั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ลดค่าไฟฟ้าของแอร์ได้คือ ติดตั้งพัดลมและเปิดใช้งานร่วมกับแอร์ที่กำลังทำงานอยู่ ผลดีคือพัดลมจะช่วยกระจายอากาศเย็นได้ ช่วยลดภาระการทำงานของแอร์ลง

Leave a Reply

XHTML: You can use these tags: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>